วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

7 สาเหตุทำไมโคมไฟหน้ารถ เหลือง ขุ่น มัว


รถที่ใช้ไปนานๆ สักระยะ ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป โคมไฟหน้ารถจะออกอาการ
เป็นฝ้าขาวคราบเหลือง ขุ่น  มัว จนทำให้ไฟส่องทางไม่สว่าง  ทำให้ผู้ใช้รถ
ต้องใช้สายตาเพ่งมากกว่าปกติในการขับรถตอนกลางคืน ผลกระทบคือ
ปวดตา ปวดหัว ไมเกรน ลามไปถึงปวดเส้นประสาททุกส่วน ปวดเอว 
ปวดหลัง   ปวดคอ แต่ทราบหรือไม่คะว่า คราบที่เกิดขึ้น ทำให้โคมไม่ใสเพราะอะไร?

1. รถจอดตากแดด  
คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า เกิดจากสาเหตุนี้เกือบ 100%
แท้จริงแล้ว  รถจอดตากแดด ทำให้โคมเสื่อมสภาพก็เป็นได้  แต่จะมีปัจจัยอื่นๆ
ร่วมด้วยที่ทำให้โคมเหลือง เพราะโคมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็น พลาสติกชนิดหนึ่ง
ที่เรียกว่า "อะคิริก" เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจากแดด ย่อมแปรสภาพกลายเป็น
สีเหลือง ขุ่น มัว  โคมเหลืองแบบนี้ มักเจอในรถที่อายุการใช้งาน มากกว่า 10 ปีขึ้นไปค่ะ



2.  เปิดไฟหน้ารถตอนกลางคืน   
ถ้าใช้รถ ช่วงกลางคืนบ่อย  หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ที่ต้องเปิดไฟหน้ารถ  
ความร้อนจากหลอดไฟ ก็สามารถทำให้ โคมไฟแปรสภาพ โมเลกุลของอะคิริกเปลี่ยนไป  
โคมจะค่อยๆ กลายเป็นสีเหลือง เห็นได้ชัดๆ กับรถที่ใช้ตอนกลางคืนบ่อย
กว่าตอนกลางวัน เช่น รถกะบะวิ่งบรรทุกกลางคืน  
และการเปิดไฟหน้ารถตอนกลางคืน ก็เป็นสาเหตุใหญ่ ในข้อ 3 ค่ะ



3. ละอองน้ำมันถนนเกาะ  
สาเหตุนี้ ยิ่งทำให้รถวิ่งกลางคืน  เป็นคราบเหลืองเกาะ
ได้แน่นและหนามากยิ่งขึ้น  เพราะถนนบางพื้นที่ มีส่วนผสมของ "ยางมะตอย" 
ช่วงกลางวัน แดดเผา เกิดเป็น "ไอละอองน้ำมัน"  ลอยอยู่ในอากาศ
ตกกลางคืน ละอองน้ำมันนั้นกลายเป็น ไอเย็น  เวลาเปิดไฟหน้ารถ โคมจะเกิดความร้อน
ไอละอองน้ำมัน ที่ลอยในอากาศจะ "ปะทะ" กับ โคมไฟ  เกิดการเกาะจับคราบละอองน้ำมัน
สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นคราบเหลือง หนา ในที่สุด  มักพบกับรถที่วิ่งกลางคืนเป็นประจำ
เช่น รถแท็กซี่ เป็นต้น  ยิ่งเปิดไฟ ยิ่งร้อน ยิ่งเกาะจับ นะคะ



4. เขม่าท่อไอเสีย จากรถคันหน้า   
อยากจะรวมถึงมลพิษทางอากาศทุกชนิด ควันเสียจาก
โรงงานอุตสากรรมที่ลอยอยู่ในอากาศ  สิ่งเหล่านี้ ก็มีโอกาสเกาะจับหน้าโคม ทำให้โคม
กลายเป็นคราบเหลืองหนาได้  แบบนี้แก้ไขไม่ยาก เพราะเป็นการเหลืองจากด้านนอกค่ะ



5. น้ำยาเคลือบโคมไฟเสื่อมสภาพ 
ที่หลายๆ คนเรียกว่า "แลกเกอร์"ลอกลักษณะจะเป็น ฟิล์มใสๆ 
เหมือนพลาสติกเคลือบอยู่หน้าโคม  เมื่อรถใช้ไปนานๆ
ทั้งจอดตากแดด โดนความร้อนจากหลอดไฟ เจอเขม่าท่อไอเสีย มลพิษต่างๆ 
น้ำยาก็แปรสภาพเป็นสีเหลืองอีกเช่นกัน  หากไม่มีการดูแลรักษา
แลกเกอร์นั้น ก็จะแตกลายงา ลอกเป็นคราบๆ หน้าโคมไฟ  คนรักรถหลายคน
จะรู้สึกขัดตา ขัดใจ  สามารถใช้กระดาษทรายขัดออก แต่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ควรให้ช่างผู้ชำนาญแก้ไขให้ดีกว่านะคะ



6. ความชื้นในอากาศเข้าไปที่โคมไฟ   
ความชื้นเข้าได้ เพราะซีลยางที่อยู่รอบๆ โคมไฟเสื่อมสภาพ 
เมื่อเราล้างรถ หรือ ฝนตก  แม้เป็นเพียงรอยรั่ว
เล็กๆ  ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อากาศหรือความชื้นก็สามารถเล็ดลอด
เข้าไปได้ แบบนี้ ทำให้ เบ้าไฟด้านในเป็นสนิม กระจายเกาะติดที่โคมไฟ
ด้านใน จนกลายเป็นสีเหลือง  เรียกว่า "เหลืองใน"  เรื่องใหญ่มาก เช่นนี้
หากต้องการขัด ก็ต้องถอดทั้งโคมออกมาขัดด้านใน แล้วนำใส่กลับเข้าไปใหม่ 
ถึงอย่างไรก็ควรระวัง การซีลซิลิโคนรอบโคมอีกครั้ง ต้องมั่นใจว่า จะไม่รั่วอีก 
หรือ ถ้าไม่อยากถอดขัดก็เปลี่ยนโคมใหม่ไปเลยค่ะ  ^_^



7. ติดไฟซีนอน และ โปรเจกเตอร์  
ติดไฟ 2 ประเภทนี้ อนุภาพความร้อนสูงมาก 
เป็นสาเหตุทำให้ อะคิริคเสื่อมเร็ว  คล้ายๆ เหมือน เราเอาแท่งเทียนจุดไฟลนวัตถุ
ที่เป็นพลาสติก   จะเห็นว่า พลาสติกโดนความร้อนแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงละลาย
การติดไฟซีนอน และโปรเจกเตอร์ เป็นการเพิ่มความสว่าง แต่ก็เพิ่มความร้อนให้กับโคม
เช่นกัน  จะเห็นฝ้า หรือ จุดขาวๆ ด้านใน บริเวณที่หลอดไฟส่องออกมา
หากโคมมีอาการแบบนี้  ทำใจเลยค่ะ  รอเปลี่ยนโคมใหม่อย่างเดียว 555+
เพราะยังไม่มีน้ำยาใดๆ ขัดออกได้ เมื่ออะคิริคมันแปรสภาพไปแล้ว



ทั้งนี้ ทั้งนั้น โคมไฟจะเปลี่ยนสภาพ เหลืองนอก เหลืองใน หรือเหลืองเนื้อ 
และเกิดอาการเหลืองต่างๆ ได้นั้น ขึ้นอยู่กับ การใช้รถ และ การดูแลรักษารถ 
แม้แต่ รถที่ซื้อมาใหม่ ๆ ก็สามารถเกิด "คราบเหลือ" ได้ค่ะ เพราะ ละอองน้ำมันถนน
เขม่าท่อไอเสีย เกาะจับทุกวัน รู้อย่างนี้แล้ว   อย่าปล่อยให้โคมไฟ เหลือง ขุ่น มัว จน 
ขัดไม่ออก แล้วต้องเปลี่ยนโคมใหม่ ซึ่งถึงตอนนั้น  การเปลี่ยนโคมไฟใหม่ ต้องใช้เงิน 
หลายๆ พัน เลยทีเดียว  ลองสำรวจโคมไฟหน้ารถตัวเองดู  วันนี้ เกิดอาการเหลืองแบบไหนกันค่ะ ^_^



เยี่ยมชมเพจ และ เวปไซด์ kk light by Muay กดเลยจ้า